ความรู้เกี่ยวกับประเทศไทย ตอนที่ 2

Category:


ความรู้เกี่ยวกับประเทศไทย ตอนที่ 2

อุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย (อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่)

อุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งแรกของประเทศไทย (เกาะตะรุเตา)

อุทยานแห่งชาติที่มีเนื้อที่มากที่สุด (อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน)

อุทยานแห่งชาติที่ได้รับสมญานามว่ามรดกแห่งอีสาน (ภูหลวง)

วนอุทยานแห่งชาติที่อยู่สูงที่สุด (ภูกระดึง จังหวัดเลย)

ตึกที่สูงที่สุดของไทย (ตึกใบหยกเทาเวอร์)

ส่วนที่แคบที่สุดของไทย (บริเวณคอคอดกระ จ.ประจวบคีรีขันธ์)

จังหวัดที่มีฝนตกมากที่สุด (จังหวัดระนอง)

แร่ที่พบมากทางภาคใต้ (ดีบุก วุลแฟรม เหล็ก น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ)

แร่ที่พบมากทางภาคเหนือ (วุลแฟรม ดีบุก เหล็ก ยิปซัม ฟลูออไรด์)

แร่ที่พบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ยูเรเนียม เหล็ก เกลือหิน ฟอสเฟต)

แร่ที่พบมากทางภาคตะวันออก (รัตนชาติ แมงกานีส)

แร่ที่พบมากทางภาคตะวันตก (วุลแฟรม สังกะสี ตะกั่ว แบไรต์)

จังหวัดที่ปลูกชามากที่สุด (จ.เชียงราย , จ.เชียงใหม่)

จังหวัดที่ปลูกอ้อยมากที่สุด (จังหวัดกาญจนบุรี)

จังหวัดที่ผลิตเกลือได้มากที่สุด (จังหวัดสมุทรสาคร)

จังหวัดที่ปลูกพริกไทยมากที่สุด (จังหวัดจันทบุรี)

มะพร้าวมีมากที่สุดที่ (เกาะสมุย จ.สุราษฎ์ธานี)

ส้มโอลือชื่อของไทยปลูกที่ (อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม)

ฝ้ายปลูกมากที่สุดที่ (ภาคเหนือ)

ปอปลูกมากที่สุดที่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ยาสูบปลูกมากที่สุดที่ (ภาคเหนือ)

ดีบุกขุดได้มากที่สุดที่ (จังหวัดภูเก็ต)

จังหวัดที่ปลูกเงาะมากที่สุด (จังหวัดจันทบุรี)

จังหวัดที่ปลูกยางพารามากที่สุด (จังหวัดนราธิวาส)

เงาะโรงเรียนที่มีชื่อปลูกที่ (จังหวัดสุราษฎ์ธานี)

หวายของไทยมีมากที่สุดที่ (จังหวัดชุมพร)

จังหวัดที่มีแร่วุลแฟรมมากที่สุด (จังหวัดกาญจนบุรี)

จังหวัดที่มีการเลี้ยงหอยมุกมากที่สุด (จังหว้ดภูเก็ต)

นกนางแอ่นมีมากที่สุดที่ (จังหวัดชุมพร)

หินอ่อนในประเทศไทยมีมากที่ (จังหวัดสระบุรี)

ภาคใดของไทยที่มีการเลี้ยงไหมมากที่สุด (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ถ่านหินมีมากที่ (จังหวัดลำปาง และจังหวัดกระบี่)

ส้มเขียวหวานที่นิยมกันว่ามีรสชาติดีอยู่ที่ (อ.บางมด กรุงเทพมหานคร)

ทองคำมีมากที่ (อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ,อ.โต๊ะโม๊ะ จ.ยะลา และ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี)

ปลาที่ชาวประมงจับได้มากที่สุด (ปลาทู)

ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดของไทย (ปลาบึก)

เจดีย์ที่เก่าแก่ที่สุดและใหญ่ที่สุด (พระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม)

พระปรางค์ที่สูงที่สุด (พระปรางค์ที่วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง ธนบุรี))

พระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุด (พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ประดิษฐานที่วัดไตรมิตรวิทยาราม กทม.
(หนัก 5 ตัน))

พระพุทธไสยาสน์ที่ยาวที่สุด (พระพุทธไสยาสน์ที่วัดพระนอน จ.สิงห์บุรี)

พระพุทธรูปยืนที่สูงที่สุด (พระพุทธรูปยืนที่วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม กทม.)

พระนอนที่ยาวที่สุด (พระนอนที่วัดขุนอินทรประมูล จ.อ่างทอง)

พระพุทธรูปนั่งที่ใหญ่ที่สุด (พระพุทธโคดม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี)

วัดที่มีระฆังใบใหญ่ที่สุด (วัดกัลยาณ์ กทม.)

วัดที่ไม่มีพระจำพรรษาเลย (วัดพระศรีรัตนศาสดาราม)

วัดไทยที่สร้างเลียนแบบวัดฝรั่ง (วัดนิเวศน์ธรรม บางประอิน จ.อยุธยา)

กระทรวงต่าง ๆ มีขึ้นในรัชกาลใด (รัชกาลที่ 5)

สภากาชาดตั้งขึ้นเมื่อ (ในรัชกาลที่ 6 เดิมชื่อ สภาอุณาโลมแดง)

ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบราชาธิปไตยเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อ (พ.ศ. 2475
ในรัชกาลที่ 7)

ประเทศไทยเริ่มใช้ธงไตรรงค์เมื่อใด (พ.ศ. 2460 ในรัชกาลที่ 6)

ประเทศไทยเปลี่ยนจากประเทศสยาม มาเป็นประเทศไทยเมื่อ (วันที่ 11 พฤกษภาคม พ.ศ. 2492)

ประเทศไทยเลิกใช้เงินพดด้วงแล้วเริ่มใช้เหรียญกษาปณ์เมื่อใด (รัชกาลที่ 4)

คนไทยเริ่มใช้นามสกุลเมื่อใด (รัชกาลที่ 6)

การประปาเริ่มมีขึ้นในสมัยใด (รัชกาลที่ 5)

ประเทศไทยเริ่มใช้แสตมป์ครั้งแรกเมื่อใด (พ.ศ. 2426)

เครื่องหมายประจำชาติไทย (ตราครุฑ)

ผู้เปลี่ยนชื่อ ทุ่งพระเมรุ เป็น ท้องสนามหลวง คือ (รัชกาลที่ 5)

คิงส์มงกุฎ หมายถึง (รัชกาลที่ 4)

กรุงเทพมหานครสร้างขึ้นเมื่อใด (ปี พ.ศ.2325 สมัยรัชกาลที่ 1)

หัวหน้าขบวนการเสรีไทยนอกประเทศระหว่างสงครมโลกครั้งที่ 2 คือ (ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช)

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สร้างขึ้นเพื่อ (เป็นอนุสรณ์รำลึกถึงวันที่ทหารและพลเรือนเสียชีวิตในสงครามอินโดจีน
ปี พ.ศ.2484)

วงเวียน 22 กรกฎาคม สร้างขึ้นเพื่อ (เป็นอนุสรณ์เนื่องในวันที่ประเทศไทยประกาศสงครามเข้าร่วมกับ
พันธมิตร รบกับเยอรมันในสงครามโลกครั่งที่ 1)

นพรัตน์หรือ แก้วเก้าประการประกอบด้วย (เพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิล มุกดา เพทาย ไพฑูรย์


Comments (0)

แสดงความคิดเห็น