รังสีที่เป็นอันตรายในอวกาศ

0

Category:

รังสีที่เป็นอันตรายในอวกาศ

ธาตุกัมมันตรังสี เช่น ยูเรเนียม พลูโตเนียม และอื่น ๆ เมื่อเกิดการแตกตัวหรือระเบิดออก จะปลดปล่อยรังสีออกมา รังสีที่เป็นอันตรายเหล่านี้จะไปทำลายระบบพันธุกรรม ยีน และดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิต แม้ในอวกาศจะมีรังสีมากมาย แต่โลกก็มีเกราะป้องกันตามธรรมชาติ

ลมสุริยะ (solar wind) คืออนุภาคประจุไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์ที่ปลดปล่อยออกมาทุกทิศทาง ฟุ้งกระจายไปทั่วระบบสุริยะ มีความเร็วเฉลี่ย 500 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเมื่อเกิดระเบิดขึ้นที่ผิวดวงอาทิตย์ อนุภาคประจุไฟฟ้าจะมีมากขึ้นและมีความเร็วถึง 2,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

รังสีคอสมิก (cosmic ray) เป็นรังสีพลังงานสูงในอวกาศ อาจมาจากดวงอาทิตย์และดาวฤกษ์อื่น ๆ ประกอบด้วยอนุภาคประจุไฟฟ้าที่มีความเร็วใกล้เคีงความเร็บาวแสงสามารถกระตุ้นอนุภาคธรรมชาติต่าง ๆ บนโลกได้

แถบรังสีแวนอัลเลน รูปร่างคล้ายแถบเข็มขัดล้อมรอบโลกหรือโดนัด ประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า พวกอิเล็กตรอน โปรตอน และไอออนของอะตอมหนักอนุภาคเหล่านี้ถูกจับไว้ในสนามแม่เหล็กโลก ช่วยป้องกันไม่ให้รังสีที่เป็นอันตรายถึงผิวโลกได้ มีสองแถบคือ แถบด้านนอกและแถบด้านใน

ไม่น่าเชื่อในอวกาศจะมีขยะเยอะขนาดนี้

0

Category:

ไม่น่าเชื่อในอวกาศจะมีขยะเยอะขนาดนี้

ตั้งแต่มนุษย์ส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศเพื่อใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์นักวิทยาศาสตร์ในยุคแรกไม่ได้คิดถึงการนำดาวเทียมที่หมดอายุใช้งานกลับมาซ่อมแซมเพื่อใช้ได้ใหม่ จึงมีดาวเทียมเหล่านี้มากมายในอวกาศ นอกจากนั้นชิ้นส่วนของจรวดนำส่งและถังเชื้อเพลิงที่ถูกสลัดออกก็เป็นเศษซากขยะในอวกาศด้วย ขยะในอวกาศมีมากมายนับแสนชิ้น ชิ้นส่วนเหล่านี้แม้มีความเร็วเพียง 6 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในอวกาศ แต่ด้วยความเร็วระดับนี้จะเท่ากับ 21,600 กม./ชม. บนโลกเลยทีเดียว ซึ่งถือว่าเร็วมาก หากไปชนอะไรเข้าจะทำให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวง ยิ่งถ้ามีขนาดใหญ่ก็ยิ่งมีพลังทำลายที่รุนแรง หากพุ่งชนยานขนส่งอวกาศก็อาจสร้างความเสียหายจนยานกลับโลกไม่ได้ องค์การนาซารายงายว่ามีขยะอวกาศขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตรกว่า 9,300 ชิ้น และขนาดใหญ่กว่า 1 เซนติเมตรมีนับแสนชิ้นทีเดียว